Data Analytics

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

  1. การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นกระบวนการประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มา เพื่อแปรสภาพข้อมูลดิบให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการเพื่อที่จะนำไปใช้ต่อกับงานอื่น ๆ

  2. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เป็นทั้งเครื่องมือและแนวทางการนำข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ มาวิเคราะห์และประมวลผลในกระบวนการทำงานหรือระบบต่าง ๆ ทำให้สามารถปรับปรุงและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมของงานเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจให้แม่นยำขึ้นและรวดเร็วขึ้น

  3. การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถวิเคราะห์ได้ 3 รูปแบบ ไล่ระดับตามความซับซ้อนจากน้อยสุดไปมากสุด ได้แก่ 1) Description Analytics 2) Predictive Analytics และ 3) Prescriptive Analytics

    1. Description Analytics หรือการวิเคราะห์เชิงบรรยาย หมายถึงการ วิเคราะห์ที่ทําให้เข้าใจภาพรวมของระบบ เป็นนำข้อมูลการตอบคำถามว่า เกิดอะไรขึ้น โดยทั่วไปการวิเคราะห์เชิงบรรยายมีองค์ประกอบการวิเคราะห์ 3 กลุ่มคือ (1) กลุ่มการคํานวณ ได้แก่ ผลค่ารวม ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ต่ำสุด ค่าการเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น โดยผนวกกับ (2) กลุ่มการจัดการข้อมูล ได้แก่ การเรียงลําดับ การจัดประเภท การคัดกรองเงื่อนไข เป็นต้น และ (3) กลุ่มของลักษณะของเวลา เช่น รายปี หรือรายไตรมาศ เป็นต้น
      ตัวอย่างการวิเคราะห์หรือตัวอย่างโจทย์คำถาม เช่น ในปีก่อนกรุงเทพมหานครมีอุณหภูมิต่ำสุด สูงสุด และเฉลี่ยที่เท่าไร มีฝนตกชุกแค่ไหน ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาแต่ละเดือนสูงเท่าไรบ้าง ค่า PM แต่ละเดือนเป้นอย่างไร เป็นต้น

    2. Predictive Analytics หรือการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ หมายถึง การประมวลผลที่ทําให้เข้าใจแนวโน้มของระบบ เป็นนำข้อมูลการตอบคำถามว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
      ตัวอย่างการวิเคราะห์หรือตัวอย่างโจทย์คำถาม เช่น จากข้อมูลฟ้าฝน 10 ปีที่ผ่านมา ปีนี้มีโอกาสที่ฝนจะตกมากน้อยแค่ไหน เดิอนไหนที่ฝนจะตกหนักที่สุดของปีนี้ ใน 7 วันข้างหน้าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร

    3. Prescriptive Analytics หรือการวิเคราะห์เชิงแนะนำ หมายถึง การประมวลผลท่ีทําให้เข้าใจ ลักษณะหรือน้ําหนักของปัจจัยอินพุทของระบบที่มีต่อเอาท์พุท เพื่อประเมินว่าถ้ามีการปรับเปลี่ยนอินพุทไปจะ มีผลต่อเอาท์พุทอย่างไร หรือการสร้างแบบจําลองของระบบและทดลองปรับแต่งเพื่อจะดูว่ามีผลต่อเอาท์พุทที่ พึงประสงค์อย่างไร ตัวอย่างการวิเคราะห์หรือตัวอย่างโจทย์คำถาม เช่น ค่า PM เป็นผลมาจากจำนวนรถน้ำมันดีเซลบนถนนและจำนวนต้นไม้รายทาง ถ้าหากมีรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และมีพื้นที่สีเขียวในเมืองเพิ่มขึ้น ค่า PM จะลดลงได้หรือไม่

  4. ตัวอย่างการนำการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้งาน

    1. การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ

    2. การวิเคราะห์สภาพอากาศ

    3. การวิเคราะห์แนวโน้มทางสังคม

    4. การวิเคราะห์แนวโน้มอาชญากรรมในจังหวัด

    5. การวิเคราะห์เพื่อทำแผนการตลาด

    6. การวิเคราะห์ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า


reference: 

[1] ผศ.ดร.รัฐชัย ชาวอุทัย, “การวิเคราะห์ข้อมูล Data analytics”, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2565

[2] Gardner, “What Is Data and Analytics?”,  

https://www.gartner.com/en/topics/data-and-analytics



Visitors: 335