Internet of thing

Internet of Things หรือ IoT กล่าวขึ้นครั้งแรกโดยเควิน แอชตัน ในปี 1999 เพื่อใช้ในการอธิบายว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตเราได้อย่างไร ปัจจุบัน Internet of Things (หรือ Internet of objects) มีนิยามที่กำหนดโดย International Telecommunication Union ว่า “กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำหรับกลุ่มข้อมูลที่ให้การบริการขั้นสูง ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างสิ่งของ (ทั้งของจริงและของเสมือน) บนพื้นฐานการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันและที่กำลังพัฒนา” โดยสิ่งของ (Things)ในที่นี้เป็นการกล่าวถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในภาพรวม เช่น เซ็นเซอร์ อุปกรณ์ติดตาม หรืออุปกรณ์ตรวจสอบสถานะ เป็นต้น
อินเทอร์เน็ตออฟติงจึงถูกใช้เรียกอุปกรณ์ที่สามารถมีปฏิสัมพัทธ์กับโลกจริงได้โดยการอ่านข้อมูลจากเซนเซอร์หรือมีการโต้ตอบกับโลกจริงผ่านอุปกรณ์ขับเคลื่อน (actuators) ทั้งทางกลและทางไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์เหล่านี้จะต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นหรือเชื่อมโยงกับอินเทอเน็ต
แนวคิดของ Internet of Things เป็นการออกแบบอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นปัจจุบันในสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารแบบ Machine-to-Machine (M2M) หรือระหว่างเครื่องสู่เครื่องโดยตรง ตัวอย่างการนำแนวคิด IoT ไปใช้งาน เช่น Mobile Marketing Smart Grid และ Smart City เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์พิเศษที่ต้องการข้อมูลประเภทเวลาและตำแหน่งเพื่อนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ต่อ ทั้งยังมีความสามารถในการทำงานได้ในระยะไกล และการควบคุมผ่านศูนย์สั่งการได้
ในส่วนโครงสร้างพื้นฐานของ IoT สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์ IoT, ไมโครคอนโทรลเลอร์, และซิงเกิลบอร์ดคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างการใช้ IoT​ เราอาจแบ่งตัวอย่างแบบง่าย ๆ จากการใช้งานได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ Consumer IoT, Commercial IoT, Industrial IoT, และ Infrastructure IoT
Consumer IoT คือไอโอทีในกลุ่มอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้เฉพาะภายในบ้านตนเอง เช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ระบบปรับอากาศอัจฉริยะ ระบบสั่งการอุปกรณ์ด้วยเสียง หรือกลุ่มอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า smart home
Commercial IoT คือไอโอทีในกลุ่มอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันในสถานที่ทำงาน เช่น ไฟฟ้าแสงสว่าง โปรเจ็คเตอร์ มอนิเตอร์ เป็นต้น หรืออุปกรณ์ที่ใช้ภายในโรงงานเล็กๆ เช่น ห้องเย็น ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบตรวจสอบและเตือนสภาพแวดล้อม ในการทำงาน นอกจากนี้ยังรวมถึงระบบการติดตามสินค้า ระบบการขนส่งสินค้าในธุรกิจการขนส่ง หรือระบบในกลุ่มติดตามการขับขี่ของ พนักงานขับรถในธุรกิจการขนส่งมวลชนด้วยเช่นกัน หรือระบบสั่งการด้วยเสียงภายในบ้าน
Industrial IoT​ คือไอโอทีในกลุ่มสำหรับจัดการควบคุมเครื่องจักรขนาดใหญ่ หรือครอบคลุมไปถึงสายการผลิตของโรงงาน ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่การเกษตรจนถึงการผลิตขั้นสุดท้าย
Infrastructure IoT คือไอโอทีในระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการบริหารจัดการ ในระดับเมือง ตัวอย่างเช่น การทำ Smart Grid เพื่อบริหารการใช้พลังงานไฟฟ้า อย่างมีประสิทธิภาพ, การวางแผน Smart City เพื่อจัดการปัญหาเมือง ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ปัญหาการเดินทางและการจราจร ปัญหาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น หรือปัญหาความปลอดภัย เป็นต้น
reference: https://github.com/microsoft/IoT-For-Beginners
Visitors: 339